การเข้าสู่ Industry 4.0 ซึ่งมี IoT เป็นหัวใจสำคัญ ทำให้เกิด กระบวนการผลิตที่ผสานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer-integrated manufacturing) และ กระบวนการสร้างแบบจำลองและประดิษฐกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล (Digital modeling and fabrication) ส่งผลให้มีการก้าวกระโดดในกระบวนการพัฒนานวัตกรรมและอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง

ด้วยความเป็นผู้นำด้านวิสัยทัศน์และเล็งเห็นถึงความสำคัญอันเป็นจุดเปลี่ยนของการพัฒนาเทคโนโลยี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการต้นแบบดิจิตอล (Digital Prototyping Laboratory, DPL) ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม สนับสนุนการออกแบบในทุกมิติ เป็นพื้นที่กลางสำหรับการพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการให้บริการและความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและบุคคลทั่วไป ห้องปฏิบัติการดังกล่าวประกอบด้วยศูนย์เทคโนโลยีการผลิตด้วย 3D Printer โดยมีระบบการให้บริการผ่าน cloud service โดยมีขนาดใหญ่สุดใน Southeast Asia นอกจากนี้ยังประกอบด้วยเครื่องตัดวัสดุด้วยเลเซอร์ความแม่นยำสูง เครื่องมือแกะสลักแบบ CNC หน่วยปฏิบัติการ electro-mechatronic  และ การสร้างต้นแบบดิจิตอลด้วยระบบ Fully-Immersive Virtual Relity

เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีครั้งสำคัญที่กำลังเกิดขึ้น ห้องปฏิบัติการต้นแบบดิจิตอล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมเป็นกลไกผลักดันศักยภาพทางเทคโนโลยี และ นวัตกรรม ของภาคการศึกษา และ อุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและก้าวสู่การเป็นผู้นำในระดับนานาชาติภายใต้แนวทางการพัฒนาอย่างยังยืนสืบต่อไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *