ห้องปฏิบัติการต้นแบบดิจิตอล เปิดให้บริการทั้งนิสิต และ บุคคลทั่วไป ท่านที่สนใจใช้บริการสามารถติดต่อกับห้องปฏิบัติการ เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้
การเตรียมชิ้นงานเพื่อการพิมพ์ 3 มิติ
1. ขนาดชิ้นงานใหญ่สุด 20 x 20 x 20 เซนติเมตร ในกรณีที่ชิ้นงานขนาดใหญ่ ต้องทำการตัดแยกชิ้นงานก่อน
2. ไฟล์งาน ขึ้นรูปชนิดงานโดย Solid Model ใช้ File format เป็น OBJ หรือ STL
3. วัสดุการพิมพ์เป็น PLA
การเตรียมชิ้นงานเพื่อการตัดด้วย Laser
1. ผู้รับบริการต้องเตรียมวัสดุมา โดยสามารถใช้วัสดุดังต่อไปนี้ คือ กระดาษ ไม้ อคลิลิค *ห้ามใช้ PVC
ความหนาสูงสุดของ Acylic ไม่เกิน 15 mm.
2. ไฟล์ที่ใช้งานให้ใช้ไฟล์ DXF ซึ่งมีการจัด Layout ของการตัดเว้นขอบจากขนาดวัสดุอย่างน้อย 2 เซนติเมตร
3. ไฟล์ต้องมีการแบ่ง Layer ที่ชัดเจนระหว่างการตัด (cut) และ การแกะสลัก (Engraving)
อัตราค่าบริการ
บุคลากร / นิสิต ภายในคณะสถาปัตย์ มหาวิทยาลัยเกษตร * |
บุคลากร / นิสิต ภายใน มหาวิทยาลัยเกษตร |
บุคคลทั่วไป | |
การพิมพ์ 3 มิติ บาท/นาที | 4 | 5 | 6 |
การตัด Laser บาท/นาที | 10 | 12 | 15 |
- นิสิตภายในคณะสถาปัตย์ มหาวิทยาลัยเกษตร ต้องมีคำรับรองจาก อ.ผู้ควบคุม ว่าเป็นการใช้งานเพื่อการศึกษา – วิจัย